ผู้เขียน หัวข้อ: บริหารจัดการอาคาร: ไม่รู้เรื่องหลอดไฟ จะเลือกซื้ออย่างไรดี  (อ่าน 7 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 261
    • ดูรายละเอียด
ใครเป็นแบบนี้บ้าง..? ไม่รู้เรื่องหลอดไฟเลย แต่หลอดไฟที่บ้านเสีย จำเป็นต้องไปซื้อหลอดไฟเอง จะเลือกซื้อยังไงดี หลอดไฟบนชั้นวางก็มีให้เลือกหลายแบบ ไหนจะประเภทหลอดไฟ รูปทรงหลอดไฟ ลักษณะสีของแสง กำลังวัตต์ อีกทั้งพวกอักษรย่อต่าง ๆ อีก ขอแนะนำ 4 ขั้นตอน เลือกซื้อหลอดไฟง่าย ๆ มาฝาก


1. ประเภทหลอดไฟ

          จริง ๆ แล้วหลอดไฟมีหลายประเภท แต่ที่นิยมใช้กันในบ้านหรือที่พักอาศัยมีอยู่ประมาณ 5 ประเภท ได้แก่
          - หลอดไฟ LED

          การทำงานของหลอดไฟ LED ไม่มีการเผาไส้หลอด จึงไม่ทำให้เกิดความร้อน จุดเด่นคือ ไม่มีแสง UV ใช้พลังงานต่ำ แต่ให้แสงสว่างมาก และประหยัดพลังงานมากกว่าหลอดไฟประเภทอื่น โดยเฉลี่ยแล้วมีอายุการใช้งาน สูงสุดถึง 50,000 ชั่วโมง หรือประมาณ 5 ปี ขึ้นไป ทำให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 15-75% เลยทีเดียว แถมยังช่วยลดปัญหาปริมาณขยะจากการทิ้งหลอดไฟได้อีกด้วย
          - หลอดไฟคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ หรือหลอดตะเกียบ

          บางครั้งก็เรียกว่าหลอดประหยัดไฟ ใช้สำหรับแทนหลอดไส้ นอกจากจะประหยัดไฟกว่าหลอดไส้แล้ว ยังมีอายุการใช้งานนานกว่า 8 เท่า หลอดไฟคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ ยังถูกออกแบบเป็นหลายชนิดตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบขั้วเกลียวและขั้วเสียบ มีบัลลาสต์ภายนอกหรือในตัว เป็นต้น และมีรูปร่างเเละสเปคประเภทต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งโดยทั่วไปเเล้ว มี 2U, 3U, 4U, 5U, 6U สำหรับอาคารพาณิชย์และอาคารบ้านเรือนจะใช้แบบ 2U กับ 3U
          - หลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า หลอดนีออน

          เป็นหลอดแก้วทรงกระบอกหรือแบบกลม หลักการทำงาน ด้านในหลอดเคลือบด้วยสารเรืองแสง ก๊าซที่บรรจุอยู่ในหลอดจะแตกตัวเป็นไอออน เมื่อกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปกระทบก๊าซ จะเกิดรังสีอัลตร้าไวโอเลตทำให้หลอดไฟสว่างขึ้น และเมื่อเทียบกับหลอดไส้ จะให้แสงสว่างมากขึ้น 4 เท่า มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า 8 เท่า และใช้พลังงานเพียง 20%
          - หลอดไส้

          เป็นหลอดไฟรุ่นแรก ๆ ที่ใช้กันมาอย่างยาวนาน ไส้หลอดไฟทำจากทังสเตน ให้ความร้อนที่สูงมาก อยู่ที่ 100-400 องศาเซลเซียส แต่ประสิทธิภาพในการส่องสว่างต่ำ เมื่อใช้ความร้อนสูงมาก แต่การส่องสว่างต่ำ จึงทำให้ไม่ค่อยประหยัดพลังงาน และค่าไฟก็แพงกว่าหลอดไฟประเภทอื่น อีกทั้งอายุการใช้งานของหลอดไส้นี้ก็มีระยะเวลาที่ไม่นาน
          - หลอดฟิลาเมนต์ LED หรือหลอดไฟวินเทจ LED

          เป็นหลอดไฟที่เลียนแบบมาจากหลอดไฟแบบไส้ ที่ยังคงความคลาสสิคอยู่ แต่ประหยัดไฟและใช้งานได้นานกว่าหลอดไส้ทั่วไป ซึ่งอายุการใช้งานยาวนานถึง 20,000 ชั่วโมง ด้วยเทคโนโลยีการผลิต จึงทำให้หลักการทำงานในการให้แสงสว่างเป็นแบบเดียวกับหลอดไฟ LED แบบธรรมดา


2. ประเภทขั้วหลอดไฟ

          ขั้วหลอดไฟที่ใช้กันในอาคาร บ้านเรือน หรือที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปมีอยู่ไม่กี่ประเภท ดังนี้

          - ขั้วหลอดไฟแบบเสียบ

          ที่นิยมใช้กันมี ขั้ว G13 เป็นขั้วหลอดไฟแบบแท่ง หรือแบบ TUBE นั่นเอง จะมีเขี้ยวยื่นออกมาจากปลายหลอดไฟ เพื่อสวมเข้ากับชุดรางที่ใช้งานร่วมกับบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์ ที่นิยมใช้กันตามบ้านเป็นหลอด T8 หรือหลอดแท่ง แต่ถ้าเป็นหลอดแท่งแบบประหยัด เรียกว่า หลอด T5 ขั้ว GU10 และขั้ว GU5.3 มักเห็นในหลอดฮาโลเจนแบบถ้วย หรือหลอด MR 16 อาจเป็นโคม Track Light หรือ Spot Light


          - ขั้วหลอดไฟแบบเกลียว

          หลัก ๆ แล้วจะมีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ ขั้ว E14 มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดาขั้วหลอดไฟ 3 ขนาดที่นิยมใช้กัน หลอดจะเป็นรูปทรงจำปา, ทรงปิงปอง, ทรงกระบอกเล็ก หรือหลอกศาสเจ้า เป็นต้น ส่วนใหญ่จะใช้กับโคมตกแต่ง โคมไฟระย้า แต่ก่อนขั้วแบบนี้จะเป็นหลอดไส้ แต่ปัจจุบันพัฒนาให้เป็นหลอด LED แล้ว ส่วนขั้ว E27 เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด หลอดจะเป็นรูปทรงน้ำเต้า หรือทรง BULB เริ่มแรกนำมาใช้กับหลอดไส้ แต่ก็ค่อย ๆ พัฒนามาใช้กับหลอดประหยัดไฟแบบแท่ง (หลอดตะเกียบ) จนปัจจุบันพัฒนามาใช้กับหลอดไฟ LED แล้ว สุดท้ายขั้ว E40 จะนิยมใช้กับหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์ที่มากกว่า 40w ขึ้นไป ซึ่งจะพบเห็นได้มากในโคมฟลัดไลท์ หรือ โคมสปอร์ตไลท์ โคมไฮเบย์ โคมโลว์เบย์


3. ลักษณะแสงของหลอดไฟ

          ทั่วไปแล้วหลอดไฟจะมีให้เลือกอยู่ 3 โทนสี ซึ่งข้างกล่องหลอดไฟจะเขียวไว้ว่า DL, CW, WW มันคืออะไร มาดูกันค่ะ

          - หลอดไฟ WarmWhite (WW):

          มีอุณหภูมิสีที่ 2,000-3,000 K แสงออกโทนสีเหลืองอมส้ม ไปจนถึงขาวอมเหลือง แสงโทนนี้เหมาะสำหรับการสร้างบรรยากาศให้รู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย มักใช้ในห้องน้ำ ห้องนอน ห้องนั่งเล่น


          - หลอดไฟ CoolWhite (CW):

          มีอุณหภูมิสีที่ 4,000-5,000 K แสงเริ่มออกเป็นโทนสีขาว เป็นสีโทนเย็น ใช้โทนนี้แล้วจะรู้สึกสบายตา แสงที่ได้จะทำให้วัตถุดูสดใส คมชัดและเข้มข้นขึ้น จึงนิยมใช้หลอดไฟโทนสีนี้ในห้องทานข้าว ห้องรับแขก ห้องทำงาน ที่จอดรถก็ได้


          - หลอดไฟ DayLight (DL):

          มีอุณหภูมิสีที่ 6,000 K แสงออกโทนสีขาวอมฟ้า เป็นแสงที่ใกล้เคียงกับแสงธรรมชาติในตอนกลางวัน เป็นโทนที่นิยมใช้กัน เพราะแสงจากหลอดไฟที่สะท้อนวัตถุจะไม่เพี้ยนหรือไม่หลอกตา สามารถใช้ได้กับทุกที่ที่ต้องการแสงสว่าง ทั้งภายนอกและภายในอาคาร นิยมใช้ในบ้านเรือน สำนักงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม


4. กำลังวัตต์ของหลอดไฟ

          ยิ่งกำลังวัตต์มาก ระดับความสว่างของแสงที่ได้จากหลอดไฟก็จะสว่างมาก จากตารางด้านล่าง เป็นการเปรียบเทียบหลอดไฟประเภทต่าง ๆ ในระดับความสว่างที่เท่ากัน จะเห็นได้ว่าหลอด LED ใช้กำลังวัตต์ไม่มากเท่ากับ หลอดไส้และหลอดคอมแพ็คฟลูออเรสเซนต์ ดังนั้น หากต้องการประหยัดพลังงาน และประหยัดค่าไฟ ควรเลือกใช้หลอดไฟ LED


บริหารจัดการอาคาร: ไม่รู้เรื่องหลอดไฟ จะเลือกซื้ออย่างไรดี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/

xannotrons

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 26799
    • ดูรายละเอียด