ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: ทันตกรรม น่ารู้กับ วิธีป้องกัน “นอนกัดฟัน” ภัยร้ายทำลายช่องปาก !  (อ่าน 90 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 421
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: ทันตกรรม น่ารู้กับ วิธีป้องกัน “นอนกัดฟัน” ภัยร้ายทำลายช่องปาก !

ทันตกรรม น่ารู้ ขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ การนอนกัดฟัน เชื่อว่าหลายคนคงรู้จักการนอนกัดฟันเป็นอย่างดี อาจจะเคยนอนข้างคนที่กัดฟันมาบ้าง หรือเผลอกัดฟันเองบ้างตอนหลับ ซึ่งโดยรวมแล้วการนอนกัดฟันอาจจะไม่อันตรายเท่ากับการนอนกรน แต่ก็ใช่ว่าจะปลอดภัย เพราะการนอนกัดฟันนั้น เป็นการทำลายฟันโดยตรง และทำให้สุขภาพในช่องปากแย่อีกด้วย

ซึ่งในวันนี้ขอแนะนำให้คุณผู้อ่าน ได้รู้จักกับ สาเหตุการเกิดนอนกัดฟัน ภัยร้ายของการนอนกัดฟัน และวิธีป้องกัน เพื่อให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจถึงระบบผิดปกตินี้ และรู้วิธีการรับมือได้ ดังต่อไปนี้


นอนกัดฟัน คืออะไร ?

การนอนกัดฟัน ถือได้ว่าเป็นการทำงานนอกหน้าที่ของระบบบดเคี้ยวที่เกิดขึ้นในขณะหลับ โดยกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยวเกิดการหดตัวอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดการกัดฝัน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในความผิดปกติในการนอนหลับอย่างหนึ่งเช่นกัน


ข้อเสียของการนอนกัดฟัน ?

ถ้าหากจะให้พูดถึงข้อเสียของการนอนกัดฟันแล้วล่ะก็ ต้องบอกก่อนเลยว่า อาจจะไม่อันตรายจนถึงเสียชีวิต แต่สร้างผลเสียโดยตรงแน่นอนให้กับ “ฟัน” เนื่องจากว่าการนอนกัดฟันนั้นจะทำให้ฟันด้านบดเคี้ยวเสียหายได้ ส่วนจะมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความถี่ของการนอนกัดฟัน

ลองให้คุณผู้อ่านได้นึกภาพตามว่า เมื่อเรานอนกัดฟันในทุกครั้ง กล้ามเนื้อใบหน้าจะออกแรงเกร็งพร้อมกับบดเคี้ยวฟันอย่างรุนแรง โดยปกติแล้วจะมีอาหารมาคั่นกลางระหว่างฟัน ทำให้ไม่เกิดการกระทบอย่างรุนแรงของฟันกับฟัน แต่หากเป็นการนอนกัดฟันที่ไม่มีอะไรมาคั่นกลางก็จะทำให้ฟันบนกันเองและเสียหายได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งหากว่า นอนกัดฟัน เป็นระยะเวลานานๆ จะยิ่งทำให้ชั้นเคลือบฟันสึกกร่อนเสียหายได้ง่าย จนเข้าไปถึงชั้นฟันด้านใน ซึ่งชั้นฟันด้านในมีเซลล์ประสาทเป็นจำนวนมาก ทำให้สามารถรับความรู้สึกเสียวฟันได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

ยิ่งถ้าผู้สูงอายุมีอาการนอนกัดฟันเป็นระยะเวลานาน มักมีอาการร่วมคือเสียวฟัน และบดเคี้ยวอาหารได้ยากขึ้น เพราะฟันที่ใช้บดเคี้ยวตามธรรมชาตินั้นจะมีความนูนเว้า เพื่อให้บดเคี้ยวอาหารได้อย่าละเอียด แต่เมื่อเกิดการกัดฟันเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ฟันที่ใช้บดเคี้ยวจะเสียหายจนทำให้เป็นฟันเรียบๆนั่นเอง
จึงเท่ากับว่าการนอนกันฟัน มีผลกระทบโดยตรงกับอาการเสียวฟัน และประสิทธิภาพโดยรวมของฟันนั่นเอง
แต่ยังไม่หมดเท่านั้น สำหรับบางราย นอนกัดฟันอย่างรุนแรง อาจถึงขั้นฟันแตกหัก กระทบกระเทือนต่อเหงือก จนทำให้อักเสบและติดเชื้อได้ด้วยเหมือนกัน


สาเหตุของการนอนกัดฟันคืออะไร ?

– วัยเด็ก
การนอนกัดฟันในวัยเด็กนั้นอาจจะเกิดขึ้นได้จากการที่ ฟันกรามกำลังงอกขึ้นมาใหม่ในช่องปาก โดยฟันกรามนั้นจะมีสันนูนที่ชัดเจน กว่าฟันซี่อื่นๆในช่องปากจึงทำให้ฟันกรามที่ขึ้นมาใหม่นั้น เกิดการกระแทกได้ง่าย ซึ่งการเกิดการกัดฟันในช่องปากของวัยเด็กนั้นยังไม่น่าตกใจเพราะเป็นธรรมชาติ เมื่อวัยเด็กที่มีฟันกรามงอกมาแล้ว ฟันกรามนั้นจะถูกใช้งานบดเคียวอาหารซักระยะหนึ่ง ฟันกรามก็จะเข้าที่ได้ระดับกับฟันซี่อื่นๆเองตามธรรมชาติ อาการของการนอนกัดฟันก็จะหายไปเอง

– วัยผู้ใหญ่
การนอนกัดฟันในวัยผู้ใหญ่นี้ ถือว่าผิดปกติ ต่างจากวัยเด็ก เพราะในวัยผู้ใหญ่ฟันบดเคี้ยวจะเข้าที่แล้ว การนอนกัดฟันในผู้ใหญ่จึงอาจจะเกิดขึ้นจากการที่มีความผิดปกติในช่องปาก
ซึ่งสาเหตุใหญ่ๆที่พบวัยผู้ใหญ่นอนกัดฟันก็คือ ผู้ที่มีรูปฟันผิดปกติ การนอนกัดฟันจึงมักจะพบได้ง่ายในผู้ที่มีฟันเก ฟันซ้อนไม่เป็นระเบียบ ซึ่งทำให้รูปแบบฟันสูงต่ำผิดปกติจากที่ต้องเป็นตามธรรมชาติ จึงเกิดการกระทบของฟันบดเคียวที่มีความนูนอยู่แล้วได้อย่างง่าย


การป้องกัน การนอนกัดฟัน ?

เชื่อว่าหลายคนคงมองว่าการนอนกัดฟันเป็นธรรมชาติ ไม่ได้ผิดแปลกอะไร จึงทำให้เกิดการมองข้ามความผิดปกติ ไม่คิดหาวิธีที่จะรักษาหรือป้องกัน จึงทำให้ส่วนใหญ่ผู้ที่นอนกัดฟันนั้น ฟันจะเกิดการสึกกร่อนหรือถูกทำลายไปเป็นอย่างมากแล้วจึงเข้าพบทันตแพทย์ วันนี้ จึงจะมาบอกวิธีการป้องกันการนอนกัดฟัน ดังต่อไปนี้

– สังเกต การเปลี่ยนแปลงในปาก
สามารถสังเกตเบื้องต้นด้วยตนเองได้ถึงความไม่ปกติในช่องปาก นั่นก็คือ เมื่อเรารับประทานอาหาร หรือบดเคี้ยวสิ่งใดแล้วรู้สึกว่าการขบฟันนั้นไม่เป็นปกติ แนะนำให้รีบเข้าพบทันตแพทย์เพื่อรับการรักษาก่อนที่จะต้องทนนอนกัดฟันในเวลากลางคืนจนทำให้ฟันเสียหายเกินแก้ไขเป็นดีที่สุด

– ควรรับประทานอาหารที่มีความแข็งพอดี ไม่อ่อนเกินไป
การเลือกรับประทานอาหารก็ถือว่าเป็นสิ่งจำเป็น เช่น เนื้อและผัก นอกจากจะให้คุณค่าทางอาหารแล้ว ยังจำเป็นในการให้ฟันบดเคี้ยวสึกกร่อนพอดี

– ฉีดยา
วิธีนี้มักจะใช้กับผู้ที่มีอาการนอนกัดฟันอย่างรุนแรง โดยแพทย์จะให้รับประทานยา หรือฉีดยา เพื่อให้ลดการทำงาน หรือให้กล้ามเนื้อคลายตัว ยาเหล่านี้จะมีผลข้างเคียงช่วยให้ไม่นอนกัดฟัน เพราะ กล้ามเนื้อบริเวณฟันบดเคี้ยวก็จะผ่อนคลายลงด้วยนั่นเอง

– ใส่ฟันยาง
ถ้าหากว่าใช้ทุกวิธีแล้วก็ยังนอนกัดฟันอยู่ ให้คุณเข้าพบ ทันตแพทย์ และแจ้งปัญหาการนอนกัดฟันเรื้อรังนี้ ทันตแพทย์ก็จะช่วยท่านได้โดยการทำฟันยางที่เข้ากับขนาดรูปทรงของฟันท่าน เป็นวิธีที่ลดอาการกัดฟันได้อย่างหายขาดในทันที